หนูจะหัก

 

 

"พกหินดีกว่าพกนุ่น

ในเวลาที่ยังคุกรุ่น

พกนุ่น ดีกว่าพกหิน"

 

หนูสงสัยค่ะคือ บริษัทของหนูไปซื้ออุปกรณ์ก่อสร้างราคา 10,000 บาท มี vat 7% รวมเป็นเงิน 17,000 บาท ยังไม่พอหนูให้ผู้ขายส่งสินค้ามาที่ size งาน ผู้ขายเลยขอเรียกเก็บค่าขนส่งเพิ่มอีก 500 บาท รวมเป็นจำนวนเงินที่หนูต้องจ่าย 17,500 บาท

 

ด้วยความเป็นคนยอมหักไม่ยอมงอ หนูเลยบอกเค้าว่า ค่าขนส่งต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย 1% นะ แต่ผู้ขายไม่ยอมให้หัก พร้อมกับยืนยันว่าหากจะหักภาษี ณ ที่จ่ายให้ได้ ผู้ขายจะไม่ส่งสินค้าให้ ต้องมารับสินค้าเอง หนูเลยสงสัยว่าที่ร่ำเรียนมาว่า จ่ายค่าขนส่งสินค้าต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย ตกลงถูกหรือไม่ และถ้าเราต้องจ่ายเงินแบบไม่หักภาษีเค้า เราจะต้องทำอย่างไรต่อ ขอเพื่อนชาว social ช่วยตอบหน่อย

 

จ่ายค่าบริการขนส่ง

ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย

 

            ตั้งใจจะท่องเข้าไปใน social เพื่อหาดอยที่เงียบสงบบรรกาศดีพักผ่อน เพื่อฮีลใจที่อ่อนล้า หลังจากไปแทรกแซงกรรมเค้าไปทั่ว ไถฟีดไปกลับไปเจอคำถามนี้เข้า ทำให้ต้องกลับมาทบทวน เรื่องราวของการจ่ายค่าบริการ ที่คุณสรรพ์กำหนดเป็นยันต์ไว้เลยว่า ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย ทุกครั้งที่จ่ายค่าบริการ การให้บริการจัดส่งสินค้า ก็ถือเป็นค่าบริการที่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย 1% ไม่ว่าผู้ให้บริการขนส่งสินค้า จะจดทะเบียนประกอบธุรกิจขนส่งหรือไม่ จะใช้รถของตัวเองขนส่ง หรือจะไปจ้างช่วงต่อให้ใครมาส่งสินค้าให้ ก็ต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายหมดไม่ยกเว้น

 

ขายสินค้าพร้อมขนส่ง

ผู้ขายประกอบธุรกิจขนส่ง

ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย

 

            ขนส่งอย่างเดียวต้องหัก แต่พอเป็นครึ่งควบลูกคือ ขายสินค้าพร้อมขนส่ง เราต้องดูหาง เอ๊ย..ดูเอกสารใบกำกับภาษี หากผู้ขายสินค้าได้ระบุค่าสินค้าและค่าขนส่งรวมกัน ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย จากค่าบริการขนส่ง แต่ช้าแต่ แฮ่..แต่ถ้าใบกำกับภาษีระบุค่าสินค้ากับค่าขนส่งรวม โดยไม่มีการแยกราคาก็ไม่รู้ว่าจะหักจากยอดไหน จึงไม่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย

 

ขายสินค้าพร้อมขนส่ง

ผู้ขายไม่ได้ประกอบธุรกิจขนส่ง

ไม่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย

 

            ก่อนท้องฟ้าจะสดใส ก่อนความอบอุ่นของไอแดด แฮ่..ก่อนจะหักภาษี ณ ที่จ่าย จากผู้ขายสินค้าที่ขายสินค้าพร้อมขนส่ง ต้องมาลงรายละเอียดอีกนิดว่า ผู้ขายสินค้าประกอบธุรกิจขนส่งเป็นปกติธุระหรือไม่

เพราะถ้าผู้ขายสินค้าไม่ได้เป็นผู้ประกอบการให้บริการขนส่งเป็นปกติ ไม่ว่าจะออกใบกำกับภาษี โดยระบุราคาสินค้าและค่าขนส่งแยกออกจากกัน หรือระบุราคาสินค้าและค่าขนส่งรวมกัน จะถือเป็นการขายสินค้าผู้จ่ายเงินไม่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย

 

เมื่อเป็นการขายสินค้า ผู้ขายสินค้าต้องนำมูลค่าของสินค้าซึ่งรวมค่าขนส่งมารวม คำนวณเป็นฐานภาษีสำหรับการขายสินค้า โดยเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากค่าสินค้าและค่าขนส่ง หากผู้ขายสินค้าไม่ได้เรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม จากค่าขนส่งถือมีความเสี่ยงที่จะดนพิษภาษีรัดคอ หากอ่านและทำความเข้าใจจบแล้ว จะไปกระซิบเตือนผู้ขายสินค้า ก็ไม่ว่ากัน

 

 

รู้ก่อนลุย!!

 

ท.ป. 4/2528 ข้อ 12/4 ให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล หรือนิติบุคคลอื่น ซึ่งเป็นผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินที่เป็นค่าขนส่ง แต่ไม่รวมถึงการจ่ายค่าโดยสาร สำหรับการขนส่งสาธารณะให้แก่ผู้รับ ซึ่งเป็น

(1) ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา หักภาษี ณ ที่จ่าย โดยคำนวณหักไว้ในอัตราร้อยละ 1.0

(2) บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ที่ประกอบกิจการในประเทศไทย แต่ไม่รวมถึงมูลนิธิหรือสมาคม หักภาษี ณ ที่จ่าย โดยคำนวณหักไว้ในอัตราร้อยละ 1.0

 

#ขายสินค้า  #บริการ #ค่าขนส่ง #ประกอบธุรกิจขนส่ง #ภาษีมูลค่าเพิ่ม #ยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม #ภาษีหัก ณ ที่จ่าย #ภาษีขาย #ภาษีเงินได้นิติบุคคล

NEED SOME BUSINESS SUGESSION?

WE CAN HELP YOU

เราภูมิใจเป็นอย่างมากหากท่านสามารถใช้ประโยชน์ หรือส่งต่อข้อมูลข่าวสารให้เพื่อนนักธุรกิจ นักบัญชี ภาษี และอื่นๆ เพื่อนำไปใช้ และได้ประโยชน์อย่างเต็มที่...อย่างไรก็ตาม สำหรับการถ่ายทอดความรู้ที่ได้รับความอนุเคราะห์จากบรรดาที่ปรึกษาในการแวะเวียนมาบรรเลงใน msgconsultant.com ประกอบด้วย

We are very proud if you can take advantage or forward the information to the business tax accountants and others to apply and to take full advantage of them. However, knowledge that has been in favor of those that came into play.

Related Site :

บริษัท เอ็มเอสจี คอนซัลแทนท์ จำกัด

149, 151 ถนนกาญจนาภิเษก แขวงหลักสอง เขตบางแค กรุงเทพฯ 10160
โทร. 02-803-6820, 02-803-6821, 02-803-6822
แฟกซ์ 02-903-0080 ต่อ 6823
Email : info@msgconsultant.com