ดีใช้ไข้รักษา

 


"ชีวิตนี้ใช่อยู่ได้เพราะใครอื่น

ที่หยัดยืนอยู่ได้ใช่ขาเขา

จะสุขบ้างเศร้าบ้างก็ อกเรา

ล้มแล้วลุกมือปัดเข่าก็เราเอง"

 

ตะวันลับตาท้องฟ้าก็ทาสีดำ แต่สิ่งที่ฉันต้องทำเป็นประจำคือ คิดถึงเธอ โดยเฉพาะเวลาที่หนูมีปัญหาบัญชีกวนตัว มีเรื่องวุ่นวายทางภาษีมากวนใจ ไม่ว่าจะทำอะไรก็ เฮ้อ..เธอ ขอโทษค่ะ เห็นแต่หน้าอาจารย์ลอยมาทุกที คิดว่าน่าจะเป็นคนที่ช่วยหนูได้

 

น้องนอนไม่หลับหัวใจมันกระสับกระส่ายมาหลายคืนแล้ว ตั้งแต่ฮียให้นโยบายมาว่า ปีหน้าจะให้พนักงานมีสิทธิเบิกค่ารักษาพยาบาลได้ ฟังแล้วก็อดดีใจไม่ได้ว่า เฮียของหนูห่วงใยลูกน้อง แต่หนูไม่แน่ใจว่า เมื่อพนักงานมาเบิกเงินค่ารักษาพยาบาลแล้ว หนูจะนำมาหักเป็นรายจ่ายของบริษัทได้ไหม และพนักงานแต่ละคนต้องนำค่ารักษาพยาบาลไปรวมเป็นเงินได้ด้วยไหม จะมีเงื่อนไขเหมือนแบบฟอร์มไหม ที่ไม่เกิน 2 ชุด

 

ระเบียบสวัสดิการ

ค่ารักษาพยาบาลพนักงาน

หักเป็นรายจ่ายของกิจการได้

 

แม้จะมุ่งมั่นเรื่องการเก็บภาษี เพื่อนำเงินภาษีไปใช้จ่ายให้เกิดประโยชน์ต่อประเทศชาติ รวมถึงเพื่อทำนุบำรุงศาสนา แต่คุณสรรพ์ก็ใช่จะใจไม้ไส้ระกำ เล็งเห็นว่า การที่บริษัทจัดสวัสดิการให้กับพนักงาน เพื่อให้มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดี ย่อมเกิดประโยชน์ต่อกิจการ ทำให้มีโอกาสสร้างกำไรและภาษีสูงขึ้น ทำให้คุณสรรพ์ในฐานะหุ้นส่วน มีสิทธิเก็บภาษีได้เพิ่มขึ้น จึงได้กำหนดไว้ชัดเจนว่า

 

หากบริษัทจัดทำระเบียบสวัสดิการ เรื่องค่ารักษาพยาบาลของพนักงานไว้ โดยพนักงานมีสิทธิได้รับสวัสดิการทุกคน แต่อาจจะกำหนดให้มากน้อยลดหลั่นลงไป บริษัทสามารถนำค่ารักษาพยาบาลที่บริษัทจ่ายให้กับพนักงาน นำมาเป็นค่าใช้จ่ายในการคำนวนภาษีเงินได้นิติบุคคลได้  ไม่ถือเป็นรายจ่ายต้องห้าม

 

ค่ารักษาพยาบาลที่พนักงานได้รับ

ส่วนที่ไม่เกินกว่าสวัสดิการที่บริษัทกำหนด

ไม่ถือเป็นเงินได้ของพนักงาน

 

เรื่องแรกผ่านไปทำให้หนูสบายใจนอนหลับได้ครึ่งคืนแล้ว ยังเหลือเรื่องของพนักงาน เมื่อเบิกค่ารักษาพยาบาล จะต้องนำไปรวมเป็นเงินได้ของพนักงานในการคำนวณภาษีหรือไม่ หากไม่ต้องหนูจะได้นำไปบอกเล่าให้เฮีย เพื่อขอรับความดีความชอบก่อน ขอให้อาจารย์รีบสรุปมาโดยไวนะคะพี่ พ้องน้องเพื่อนรอความหวังอยู่

 

จะให้ทั้งที จะให้ครึ่งกลาง คงไม่ใช่ผู้ใหญ่ใจดี มีเมตตาเหมือนคุณสรรพ์ของเรา จะยกก็ต้องยกให้ตลอดสาย แต่ต้องไปดูว่าสวัสดิการของบริษัทกำหนดไว้อย่างไร หากบริษัทจ่ายค่ารักษาพยาบาลให้กับพนักงาน ตามจำนวนที่กำหนดไว้ในระเบียบสวัสดิการ พนักงานที่ได้รับเงินค่ารักษาพยาบาลจากบริษัท ก็ไม่ต้องนำไปรวมเป็นเงินได้เพื่อคำนวณภาษี เรียกว่ารอดตลอดสาย

 

สวัสดิการค่ารักษาพยาบล

ไม่เกิน 3,000 บาทต่อปี

ส่วนที่เบิกเกิน

เป็นรายจ่ายต้องห้าม

เป็นเงินได้ของพนักงาน

 

            บริษัทกำหนดสวัสดิการค่ารักษาพยาบาลให้พนักงานเบิกได้ไม่เกิน 3,000 บาทต่อปี พนักงานจะไปรักษากี่ครั้ง จะเบิกกี่หน หนูก็จ่ายไป ตราบใดที่ไม่เกินเงื่อนไขที่กำหนดบริษัท ก็นำหลักฐานมาหักเป็นรายจ่ายในการคำนวณภาษีได้ ส่วนพนักงานก็ไม่ต้องนำไปเป็นเงินได้ เพื่อคำนวณภาษีบุคคลธรรมดา แต่หากเผลอไผลให้พนักงานมาเบิกไป 4,000 บาทต่อปีแบบนี้ 3,000 ยังคงใช้ได้ แต่ส่วนที่เกิน 1,000 ถือว่าให้โดยเสน่หา เป็นรายจ่ายต้องห้ามของกิจการ ส่วนพนักงานก็เก็บ 1,000 ไปเป็นเงินได้เพื่อคำนวณภาษีสบายใจ

 

 

รู้ก่อนลุย!!

 

มาตรา 42(17) กฎกระทรวง ฉบับที่ 126 ข้อ 2(4)(ก)

(4) เงินได้ส่วนที่เป็นค่ารักษาพยาบาล ที่นายจ้างจ่ายให้ หรือจ่ายแทนลูกจ้าง เป็นค่ารักษาพยาบาล สำหรับ

(ก) ลูกจ้าง สามี ภริยา บุพการีหรือผู้สืบสันดาน ซึ่งอยู่ในความอุปการะเลี้ยงดูของลูกจ้าง ทั้งนี้ เฉพาะสำหรับการรักษาพยาบาล ที่กระทำในประเทศไทย

(ข) ลูกจ้างในกรณีที่จำเป็นต้องได้รับการรักษาพยาบาลในต่างประเทศ ในขณะที่ปฏิบัติการตามหน้าที่ในต่างประเทศเป็นครั้งคราว

 

#สวัสดิการพนักงาน #ค่ารักษาพยาบาล #รายจ่ายเกี่ยวกับกิจการ #รายจ่ายส่วนตัวไม่เกี่ยวกับกิจการ #ภาษีเงินได้นิติบุคคล #ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา #รายจ่ายต้องห้าม #รายจ่ายบวกกลับ #ประโยชน์อื่นที่ได้รับ

 

NEED SOME BUSINESS SUGESSION?

WE CAN HELP YOU

เราภูมิใจเป็นอย่างมากหากท่านสามารถใช้ประโยชน์ หรือส่งต่อข้อมูลข่าวสารให้เพื่อนนักธุรกิจ นักบัญชี ภาษี และอื่นๆ เพื่อนำไปใช้ และได้ประโยชน์อย่างเต็มที่...อย่างไรก็ตาม สำหรับการถ่ายทอดความรู้ที่ได้รับความอนุเคราะห์จากบรรดาที่ปรึกษาในการแวะเวียนมาบรรเลงใน msgconsultant.com ประกอบด้วย

We are very proud if you can take advantage or forward the information to the business tax accountants and others to apply and to take full advantage of them. However, knowledge that has been in favor of those that came into play.

Related Site :

บริษัท เอ็มเอสจี คอนซัลแทนท์ จำกัด

149, 151 ถนนกาญจนาภิเษก แขวงหลักสอง เขตบางแค กรุงเทพฯ 10160
โทร. 02-803-6820, 02-803-6821, 02-803-6822
แฟกซ์ 02-903-0080 ต่อ 6823
Email : info@msgconsultant.com