ลดภาษีด้วยการเกษตร

 

เจ้าสัว - บิ๊กเนม

พลิกที่ดินกลางเมืองทำเกษตร

ลด…ภาษี

 

        ในวิกฤติย่อมมีโอกาส การเสียภาษีย่อมมีการวางแผนภาษีเพื่อหนี   แฮ่! ผิดครับ วางแผนเพื่อลดภาษี เช่นเดียวกัน เมื่อภาษีที่ดินสิ่งปลูกสร้างจัดเก็บตามประเภทการใช้งาน ซึ่งอัตราภาษีที่ต่ำที่สุดก็คือ การใช้ที่ดิน เพื่อประโยชน์ทางการเกษตร ทำให้ผู้ที่มีที่ดินสะสมไว้มากมายไม่เคยทำเกษตรก็อดจะเมียงมอง หันมาให้ ความสนใจทำเกษตรเช่นเดียวกันเรียกว่าได้ประโยชน์ทั้งเสียภาษีน้อย แถมอาจจะได้พืชผลทางการเกษตรมา เป็นรายได้อีกต่างหาก

        แต่อย่าคิดว่า ที่ดิน 100 ไร่ เอามาปลูกกล้วย 10 ต้น ไว้รอบขอบที่ดินเพื่อบังหน้าจะเอาตัวรอดไปได้นะ เพราะบ้านเมืองมีขื่อมีแป  เอ๊ย! มีกฎหมายบัญญบัติเรื่องนี้ไว้ชัดเจน ว่าอะไรถึงจะเรียกว่าเป็นการใช้ที่ดินเพื่อการเกษตร ต้องปลูกอะไรมากน้อยแค่ไหน เช่น

    -  ถ้าปลูกกล้วยไม่ว่าจะเป็น กล้วยหอม, กล้วยไข่, กล้วยน้ำว้า  ก็ต้องปลูกอย่างน้อย 200 ต้น/ไร่

    -  ถ้าปลูกกาแฟ จะแยกเป็นพันธุ์มากน้อยต่างกันไป พันธุ์โรบัสต้า 170 ต้น/ไร่, อาราบิกา 533 ต้น/ไร่

    -  มะนาว ต้องปลูก 50 ต้น/ไร่

    -  ฯลฯ

รายละเอียดมีเยอะ ดูรายละเอียดได้จาก“ประกาศกระทรวงการคลังและกระทรวงมหาดไทย”เค้าสนธิกำลังกัน ประกาศหลักเกณฑ์การใช้ประโยชน์ในการประกอบเกษตรกรรมดูได้ที่ https://www.reic.or.th/Upload/13_95910_1598322934_23859.pdf

 

ใคร ใคร่ปลูก ปลูก ใครจะวางแผนภาษีอย่างไรก็ทำกันไป เพื่อลดภาระภาษีและรอวันพร้อมที่จะนำมาพัฒนาโครงการ แต่คงต้องคอยจับตามดูชายผู้หนึ่งที่ได้เปล่งวาจาอันเป็นอมตะว่า ทำงาน ทำงาน ทำงาน เพราะท่านผู้นี้นอกจากจะวิ่งเก่ง เอ๊ย! งานอย่างขยันขันแข็งแล้ว ยังมีญาณทิพย์ล่วงรู้ถึงจิตใจเจ้าของที่ดินทั้งหลายที่ต้องการวางแผนภาษีได้ส่งสัญญาล่วงหน้ามาว่า หากมีการเปลี่ยนพื้นที่รกร้างมาทำแปลงเกษตร แต่

                           1. ไม่ต้องการขายที่ดิน

                           2.  รอจังหวะโควิดทุเลาเศรษฐกิจดีขึ้น

                           3.  รอผังเมืองกทม.ใหม่ประกาศใช้

 

       ท่านผู้ทำงาน ทำงาน ทำงาน เคยเอ่ยไว้ว่ากฎหมายภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ได้กำหนดอัตราภาษีสูงสุด ที่จะให้อำนาจท้องถิ่นในการจัดเก็บภาษีตัวนี้ ตามประเภทที่ดินดังนี้ คือ

-  ที่ดินเพื่อเกษตรกรรม อัตราเพดานอยู่ที่ 0.15 %ของมูลค่าที่ดิน

-  ที่ดินเพื่อที่อยู่อาศัย เพดานอยู่ที่ 0.3%ของมูลค่าที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง

-  ที่ดินประเภทอื่นนอกเหนือจากเกษตรกรรมและที่อยู่อาศัย เช่น ที่ดินที่ใช้ในเชิงพาณิชย์และอุตสาหกรรม

-  ที่ดินรกร้างว่างเปล่า มีเพดานอยู่ที่ 1.2%

 

หากเห็นว่าเจ้าของที่ดินมีเจตนาที่ปลูกผักชีโรยหน้า  แฮ่! ทำเกษตรเพียงเพื่อหวังผลในการลดภาษี ที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ไม่ได้มีการใช้ประโยชน์ในที่ดินอย่างจริงจัง อาจจะจัดเก็บภาษีในอัตราสูงได้คงต้องเป็นอีกปัจจัยที่ต้องนำมาคิดประกอบการวางแผนภาษีอย่างละเอียด

 

รักจัง

มือปราบภาษี

 

เกร็ดภาษีที่ต้องรู้ !

 

การใช้ที่ดินเพื่อประโยชน์ทางการเกษตร

1)  เจ้าของที่ดินไม่จำเป็นต้องเป็นเกษตรกร

2) ไม่จำเป็นต้องลงทะเบียนเป็นเกษตรกร

3) ต้องใช้ที่ดินเพื่อการเกษตรตามเงื่อนไขที่กำหนด

#ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง #อสังหาริมทรัพย์ #นิติบุคคล #อสังหาริมทรัพย์ #ผู้เสียภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง  #ลดภาษี #วางแผนภาษี

NEED SOME BUSINESS SUGESSION?

WE CAN HELP YOU

เราภูมิใจเป็นอย่างมากหากท่านสามารถใช้ประโยชน์ หรือส่งต่อข้อมูลข่าวสารให้เพื่อนนักธุรกิจ นักบัญชี ภาษี และอื่นๆ เพื่อนำไปใช้ และได้ประโยชน์อย่างเต็มที่...อย่างไรก็ตาม สำหรับการถ่ายทอดความรู้ที่ได้รับความอนุเคราะห์จากบรรดาที่ปรึกษาในการแวะเวียนมาบรรเลงใน msgconsultant.com ประกอบด้วย

We are very proud if you can take advantage or forward the information to the business tax accountants and others to apply and to take full advantage of them. However, knowledge that has been in favor of those that came into play.

Related Site :

บริษัท เอ็มเอสจี คอนซัลแทนท์ จำกัด

149, 151 ถนนกาญจนาภิเษก แขวงหลักสอง เขตบางแค กรุงเทพฯ 10160
โทร. 02-803-6820, 02-803-6821, 02-803-6822
แฟกซ์ 02-903-0080 ต่อ 6823
Email : info@msgconsultant.com