ภาษีขายคอนโดอัตราก้าวหน้า

งง กับการคิดขั้นภาษีก้าวหน้า กรณีขายคอนโดค่ะ ถ้าขายราคา 5,400,000 จะเสียภาษีกี่ขั้น แบบใดบ้าง เหมือนว่า 150,000 ไม่ต้องเสีย เราหักออกไปแล้ว ที่เหลือคิดแบบไหนค่ะ ดูตัวอย่างแล้วยังไม่เข้าใจเลยค่ะ กรณาตอบด้วย จักเป็นพระคุณมากค่ะ เพราะถามมา สามคน ตัวเลขไม่เหมือนกันเลยนะค่ะ

 

จักเป็นพระคุณมากค่ะ

สุดา

 

เรียน  คุณสุดา

 

                ประเด็นที่งง...เอ๊ย สอบถามมาอธิบายแบบนี้

 

1.     การคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ต้องนำรายได้จากการขายหักด้วยรายจ่ายเป็นการเหมาตามอัตราที่กำหนดก่อน

2.      เมื่อได้เงินได้พึงประเมินสุทธิจากการขาย จึงจะคำนวณภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ตามอัตราก้าวหน้า

3.     การคำนวณภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายในวันโอนกรรมสิทธิ์ที่กรมที่ดิน จะคำนวณตามอัตราขั้นก้าวหน้า 5 – 35% โดยไม่ยกเว้น 150,000 บาท

4.     กรณียกเว้น 150,000 บาท จะใช้เฉพาะการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา สำหรับการยื่นแบบเสียภาษีเงินได้ประจำปี (ภงด. 90, 91)

5.     สำหรับอัตราภาษีก้าวหน้า แบ่งเป็น 2 ส่วน สรุปได้ดังนี้


อัตราภาษีสำหรับยื่นเสียภาษีประจำปี

เงินได้สุทธิ

ช่วงเงินได้สุทธิ

แต่ละขั้น

อัตราภาษี

ร้อยละ

ภาษีแต่ละขั้น

เงินได้สุทธิ

ภาษีสะสม

สูงสุดของขั้น

1 - 150,000

150,000*

ได้รับยกเว้น

-

-

150,001 - 300,000

150,000

5

7,500

7,500

300,001 – 500,000

200,000

10

20,000

27,500

500,001 - 750,000

250,000

15

37,500

65,000

750,001 – 1,000,000

250,000

20

50,000

115,000

1,000,001 - 2,000,000

1,000,000

25

250,000

365,000

2,000,001 – 4,000,000

2,000,000

30

600,000

965,000

4,000,001 บาทขึ้นไป

ไม่มีเพดาน

35

 

 

 

อัตราภาษีสำหรับคำนวณหักภาษี ณ ที่จ่าย ที่กรมที่ดิน ใช้เหมือนข้างต้น แต่ไม่ได้รับยกเว้น 150,000 บาทแรก ต้องเสียภาษีอัตรา 5% แต่ปัจจุบัน กรมที่ดินยังไม่ได้ใช้อัตราภาษีใหม่ของกรมสรรพากร 7 ขั้น ยังคงใช้อัตราเดิม 5 ขั้น หากโอนกรรมสิทธิ์ที่กรมที่ดินในช่วงนี้ จะต้องคำนวณภาษีหัก ณ ที่จ่าย ตามอัตราดังนี้ (จนกว่าจะมีการประกาศเปลี่ยนแปลงของกรมที่ดิน)


อัตราภาษีสำหรับการคำนวณภาษีหัก ณ ที่จ่าย กรมที่ดิน (ณ ปัจจุบัน)

เงินได้สุทธิ

ช่วงเงินได้สุทธิ

แต่ละขั้น

อัตราภาษี

ร้อยละ

ภาษีแต่ละขั้น

เงินได้สุทธิ

ภาษีสะสม

สูงสุดของขั้น

1 - 150,000

150,000

5

7,500-

7,500

150,001 - 500,000

350,000

10

35,000

42,500

500,001 – 1,000,000

500,000

20

100,000

142,500

1,00,001 – 4,000,000

3,000,000

30

900,000

1,042,500

4,000,001 บาทขึ้นไป

ไม่มีเพดาน

37

 

 

 

สำหรับการคำนวณภาษีหัก ณ ที่จ่ายของกรมที่ดิน ให้แยกเงินได้เป็นส่วน ๆ ตามตารางอัตราภาษีหัก ณ ที่จ่ายของกรมที่ดิน เช่น หากมีเงินกำไรจากการขายอสังหาริมทรัพย์ 5.4 ล้านบาทตามตัวอย่าง ให้แบ่ง 5.4 ล้านบาทเป็นส่วน ๆ ตามตาราง และคำนวณภาษีไป เช่น

 

ส่วนที่ 1 จำนวน 150,000 บาท นำมาคำนวณภาษีอัตรา 5%    

ส่วนที่ 2 จำนวน 350,000 บาท นำมาคำนวณภาษีอัตรา 10%

ส่วนที่ 3 จำนวน 500,000 บาท  นำมาคำนวณภาษีอัตรา 20%

ส่วนที่ 4 จำนวน 3,000,000 บาท นำมาคำนวณภาษีอัตรา 30%

ส่วนที่ 5 จำนวน 1,400,000 บาท นำมาคำนวณภาษีอัตรา 37%

 

รวมเงินได้ที่นำมารวมคำนวณภาษีทั้งหมดคือ 37%

 

แต่เมื่อนำมาคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา เพื่อเสียภาษีประจำปี จะใช้อัตราภาษีใหม่ 7 ขั้น และได้รับยกเว้น 150,000 บาทแรก มาคำนวณ โดยวิธีการคำนวณเหมือนกัน

 

หวังว่าจะเป็นประโยชน์

 

ด้วยรัก

นายภาษี

 

 

NEED SOME BUSINESS SUGESSION?

WE CAN HELP YOU

เราภูมิใจเป็นอย่างมากหากท่านสามารถใช้ประโยชน์ หรือส่งต่อข้อมูลข่าวสารให้เพื่อนนักธุรกิจ นักบัญชี ภาษี และอื่นๆ เพื่อนำไปใช้ และได้ประโยชน์อย่างเต็มที่...อย่างไรก็ตาม สำหรับการถ่ายทอดความรู้ที่ได้รับความอนุเคราะห์จากบรรดาที่ปรึกษาในการแวะเวียนมาบรรเลงใน msgconsultant.com ประกอบด้วย

We are very proud if you can take advantage or forward the information to the business tax accountants and others to apply and to take full advantage of them. However, knowledge that has been in favor of those that came into play.

Related Site :

บริษัท เอ็มเอสจี คอนซัลแทนท์ จำกัด

149, 151 ถนนกาญจนาภิเษก แขวงหลักสอง เขตบางแค กรุงเทพฯ 10160
โทร. 02-803-6820, 02-803-6821, 02-803-6822
แฟกซ์ 02-903-0080 ต่อ 6823
Email : info@msgconsultant.com