การคำนวณเงินได้/เงินเดือนพนักงาน

ตัวอย่างการคำนวณของธุรกิจก่อสร้าง และขนส่งวัสดุก่อสร้าง เป็นรายเดือนดังนี้ค่ะ

กรณี มีฐานเงินเดือน fix (ไม่เกินเกณฑ์ หักภาษี). แต่มีเงินได้ส่วนอื่น (รวมแล้วเกินเกณฑ์ต้องหักภาษีนำส่ง) เช่น ค่าเดินทาง ค่าน้ำมัน.ค่าเที่ยว (เงินตอบแทนของการขับรถขนส่งเป็นเที่ยวๆ) ค่าเบี้ยเลี้ยง และอื่นๆ จากการทำงานที่รับมอบหมาย

คำถาม:  จำนวนฐานเงินได้ที่นำไปคำนวณภาษี คือ จำนวนรวมทั้งหมด หรือต้องแยก และแยกอย่างไรคะเพื่อการหักภาษีที่ต้องนำส่งถูกต้อง และหักครบถ้วนไม่ต้องจ่ายเพิ่มปลายปี

ขอบพระคุณล่วงหน้าอย่างสูงคะ

จริงใจ

เรียน  คุณจริงใจ

                ประเด็นที่สอบถาม ขอให้ข้อมูล เพื่อนำไปประกอบการคำนวณหักภาษี ณ ที่จ่าย กรณีจ่ายเงินได้ให้กับพนักงานได้อย่างถูกต้อง สมดังตั้งใจ ซึ่งก่อนนำไปสู่การคำนวณต้องมาทำความเข้าใจกันก่อนเกี่ยวกับเงินได้ของพนักงานที่ต้องนำมาเสียภาษี ซึ่งขออัญเชิญ เอ๊ย ขออ้างถึงมาตราที่เกี่ยวข้องคือ

มาตรา 40 เงินได้พึงประเมินนั้น คือเงินได้ประเภทต่อไปนี้ รวมตลอดถึงเงินค่าภาษีอากรที่ผู้จ่ายเงินหรือผู้อื่นออกแทนให้สำหรับเงินได้ประเภทต่าง ๆ ดังกล่าว ไม่ว่าในทอดใด

               (1) เงินได้เนื่องจากการจ้างแรงงานไม่ว่าจะเป็นเงินเดือน ค่าจ้าง เบี้ยเลี้ยง โบนัส เบี้ยหวัด บำเหน็จ บำนาญ เงินค่าเช่าบ้าน เงินที่คำนวณได้จากมูลค่าของการได้อยู่บ้านที่นายจ้างให้อยู่โดยไม่เสียค่าเช่า เงินที่นายจ้างจ่ายชำระหนี้ใดๆ ซึ่งลูกจ้างมีหน้าที่ต้องชำระ และเงิน ทรัพย์สิน หรือประโยชน์ใดๆ บรรดาที่ได้เนื่องจากการจ้างแรงงาน

                จากกฎหมู่ เอ๊ยกฎหมาย มาดูประเด็นเงินได้ที่เกี่ยวข้องก่อน ซึ่งสรุปได้ว่า เงินเดือน ค่าเบี้ยเลี้ยง ค่าขนส่ง ค่าน้ำมัน ค่าเที่ยว ต่างๆ ล้วนแล้วแต่เป็นเงินได้ของพนักงานที่ต้องนำมารวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้ทั้งสิ้น ซึ่งในการคำนวณหักภาษี ณ ที่จ่าย ให้ถูกต้องจะต้องแยกเป็น 2 ส่วนคือ

-เงินเดือน ซึ่งปกติแล้ว จะจ่ายจำนวนเท่ากันทุกๆ เดือน

-ค่าเบี้ยเลี้ยง ค่าขนส่ง ค่าน้ำมัน ค่าเที่ยว ซึ่งจะจ่ายไม่เท่ากันในแต่ละเดือน

การหักภาษี ณ ที่จ่ายให้ถูกต้อง จะต้องคำนวณภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย เฉพาะเงินเดือนก่อน เมื่อคำนวณได้เท่าไหร่แล้วให้บันทึกเป็นข้อมูลไว้ก่อน เมื่อถึงเวลาจ่ายเงินเดือนต้องนำเงินเดือนรวมกับค่าเบี้ยเลี้ยง และค่าตอบแทนอื่นที่จ่ายในแต่ละมารวมเพื่อหา ภาษีเงินได้ทั้งหมด

เมื่อได้ภาษีเงินได้ทั้งหมด ให้นำภาษีเฉพาะเงินเดือนมาหักออก จะได้ภาษีเฉพาะส่วนของค่าตอบแทนอื่น จากนั้นให้นำภาษีสำหรับค่าตอบแทนอื่นไปรวมกับภาษีหัก ณ ที่จ่ายแต่ละเดือน ผลที่ได้คือภาษีหัก ณ ที่จ่ายของแต่ละเดือนซึ่งจะไม่เท่ากัน โดยขอหยิบเอาตัวอย่างการคำนวณแต่ละขั้นมาอธิบายดังนี้

คำนวณภาษีหัก ณ ที่จ่ายเฉพาะเงินเดือน

เงินเดือน คูณ จำนวนเดือนที่ทำงานในปี                                                                      XXX

    หัก ค่าใช้จ่ายเป็นการเหมาจ่าย  (40 % ไม่เกิน 60,000 บาท)                                                            (XXX)

    หัก ค่าลดหย่อน                                                                                                              (XXX)
        เงินได้พึงประเมินสุทธิ                                                                                                   XXX
        คำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา (อัตราก้าวหน้า) (3)                                                                    XXX

    หัก ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา (1)                                                                                     (XXX)
        ภาษีหัก ณ ที่จ่าย (2)  = (1) / จำนวนเดือนที่ทำงานในปี                                                   XXX

        อย่างที่บอกไว้ได้ภาษีหัก ณ ที่จ่ายของเงินเดือนให้ตั้งพักไว้ 

คำนวณภาษีหัก ณ ที่จ่ายเฉพาะเงินเดือน และค่าเบี้ยเลี้ยงที่ได้รับ
        เงินเดือน คูณ จำนวนเดือนที่ทำงานในปี                                                                          XXX

   บวก ค่า เบี้ยเลี้ยง ค่านายหน้า รายได้อื่น                                                                               XXX

    หัก ค่าใช้จ่ายเป็นการเหมาจ่าย  (40 % ไม่เกิน 60,000 บาท)                                                           (XXX)

    หัก ค่าลดหย่อน                                                                                                              (XXX)
        เงินได้พึงประเมินสุทธิ                                                                                                   XXX
        คำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา (อัตราก้าวหน้า) (3)                                                                  XXX

    หัก ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา เฉพาะส่วนของเงินเดือน (1)                                                               (XXX)
        ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา เฉพาะส่วนของค่าเบี้ยเลี้ยง ค่านายหน้า (4)                                XXX

    บวก ภาษีหัก ณ ที่จ่ายเฉพาะเงินเดือน (2)                                                                                      XXX
         ภาษีหัก ณ ที่จ่าย  = (2) + (4)                                                                                      XXX

                ยากมั้ย...ไม่ยาก ถามเองตอบเองก็แบบนี้แหละ ลองอ่าน และทดลองคำนวณดูนะครับ แต่เทคนิคง่ายๆ คือ หากฐานภาษีเฉพาะเงินเดือนของพนักงานเท่าไหร่ การคำนวณหักภาษี ณ ที่จ่ายสำหรับเงินได้ประเภทอื่น อาจจะหักในอัตราที่เท่ากันไปก่อน เช่นหากคำนวณแล้วอัตราภาษีของพนักงานอยู่ที่ 10% ทุกครั้งที่จ่ายค่าตอบแทนอื่นก็ให้หัก 10% ไป แต่ต้องคอยหมั่นทบทวนรายได้ และภาษีด้วย เพราะภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเก็บในอัตราก้าวหน้า หากเงินรวมเกินฐานปัจจุบันไปแล้ว จะต้องเขยิบตามไปด้วย

                ตบท้ายด้วยฐานภาษีเพื่อให้นำไปใช้ประกอบการคำนวณดังนี้

ฐานเงินได้

อัตราภาษี

1 – 150,000

ยกเว้น

150,001 – 300,000

5 %

300,001 – 500,000

10 %

500,001 – 750,000

15 %

750,001 – 1,000,000

20 %

1,000,001 – 2,000,000

25 %

2,000,001 – 4,000,000

30 %

4,000,001 เป็นต้นไป

35 %

ตบท้ายอีกนิดว่า หากค่าตอบแทนอื่นๆ ที่จ่ายเท่ากับกันทุกเดือน สามารถนำไปรวมกับเงินเดือน และคำนวณภาษีตามวิธีการแรกจะเป็นวิธีที่ง่ายกว่า แต่หากไม่เท่ากันจะต้องคำนวณทั้งสองวิธี และคำนวณทุกเดือน ซึ่งสร้างความวุ่นวายได้พอสมควร แต่ไม่ยากเกินอธิบายหรอกครับ เชื่อมืออยู่แล้ว

                หวังว่าคำตอบจะเป็นประโยชน์

 

ด้วยรัก

นายภาษี

NEED SOME BUSINESS SUGESSION?

WE CAN HELP YOU

เราภูมิใจเป็นอย่างมากหากท่านสามารถใช้ประโยชน์ หรือส่งต่อข้อมูลข่าวสารให้เพื่อนนักธุรกิจ นักบัญชี ภาษี และอื่นๆ เพื่อนำไปใช้ และได้ประโยชน์อย่างเต็มที่...อย่างไรก็ตาม สำหรับการถ่ายทอดความรู้ที่ได้รับความอนุเคราะห์จากบรรดาที่ปรึกษาในการแวะเวียนมาบรรเลงใน msgconsultant.com ประกอบด้วย

We are very proud if you can take advantage or forward the information to the business tax accountants and others to apply and to take full advantage of them. However, knowledge that has been in favor of those that came into play.

Related Site :

บริษัท เอ็มเอสจี คอนซัลแทนท์ จำกัด

149, 151 ถนนกาญจนาภิเษก แขวงหลักสอง เขตบางแค กรุงเทพฯ 10160
โทร. 02-803-6820, 02-803-6821, 02-803-6822
แฟกซ์ 02-903-0080 ต่อ 6823
Email : info@msgconsultant.com