แรงงานแลกหุ้น

เป็นบริษัท Software house ขนาดเล็ก มีคนประมาณ 3 คน ตั้งใจที่จะจดทะเบียนบริษัท จำกัดตามข้อ 1 หรือ 2

1. ทุนจดทะเบียน 500,000บาทชำระเต็ม ตามรายละเอียดดังนี้ (คิดว่าน่าจะใช้วิธีการคล้ายๆ กับการชำระด้วยแผนธุรกิจ  
·  คนที่1ชำระโดย ผังโครงสร้าง แสดงขั้นตอน และ รายละเอียดกระบวนการทำงานต่างของโปรแกรมคอมพิวเตอร์ มูลค่า 350,000

      ·  คนที่ 2 เงินสด 100,000

      ·  คนที่ 3 เงินสด  25,000

      ·  คนที่ 4 เงินสด  25,000

      ·  รวมเงินสด 150,000 ข้อนี้ตามที่ได้ ศึกษาจากหนังสือ น่าจะทำได้

2.  ทุนจดทะเบียน 1,000,000 แบ่งดังนี้

o คนที่ 1 =  700,000

o คนที่ 2 =  200,000

o คนที่ 3 =    50,000

o คนที่ 4 =    50,000

       เรียกชำระ 50%

     ·  คนที่ 1 ชำระโดย ผังโครงสร้าง แสดงขั้นตอน และ รายละเอียดกระบวนการทำงานต่างของโปรแกรมคอมพิวเตอร์ มูลค่า 350,000

     ·  คนที่ 2 เงินสด 100,000

     ·  คนที่ 3 เงินสด   25,000

     ·  คนที่ 4 เงินสด   25,000 จะใช้เงินสด 200,000

การจดทะเบียนแบบนี้ทำได้ หรือ ไม่ ส่วนที่เหลือชำระเป็นเงินสดและการชำระค่าหุ้นด้วยวิธีการนี้ จะทำให้คนที่ 1มีภาระภาษีเงินได้นิติบุคคลธรรมดา จากเงินได้ 350,000บริษัทที่จดทะเบียนขึ้นมาใหม่นั้น ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย 3% เพื่อนำสงสรรพากร ไว้หรือไม่

3.   การเรียกชำระ เงินค่าหุ้นที่เหลือเข้าใจว่าจะเรียกเมื่อใด หรือจำนวนเท่าใดก็ได้แต่จำเป็นหรือไม่ว่าจะต้องเรียกชำระจากผู้ถือหุ้นที่ยังชำระไม่เต็มมูลค่า ทุกคน เช่นจากข้อ 2ต้องเรียกจากคนที่1,2,3,4 พร้อมกันหรือ ไม่

4.  จากการสอบถามสำนักงานบัญชี ที่รับทำบัญชี เมื่อสอบถามวิธีการจดทะเบียนและชำระด้วยทรัพย์สินอื่นๆ ที่ไม่ใช่เงินสด มักจะได้คำแนะนำว่าให้ทำเป็นการซื้อจากผู้ถือหุ้นมากกว่า(โดยการทำเอกสาร)อยากทราบว่า วิธีการทั้ง2การจัดทำบัญชีเหมือนหรือต่างกันแบบไหน

ขอขอบคุณล่วงหน้าครับ

แสนดี

เรียน คุณแสนดี

ประเด็นที่ถามมาขอชี้แจงดังนี้

  1. เรียกรับชำระค่าหุ้นด้วย ทรัพย์สิน แรงงาน สามารถดำเนินการได้ โดยสามารถที่จะจัดทำรายงานการประชุม ชี้แจงรายละเอียดการชำระค่าหุ้นตามที่อธิบายมาข้างต้น และนำไปใช้ประกอบการจดทะเบียนจัดตั้งบริษัทเป็นอันเรียบร้อย

  2. กรณีชำระค่าหุ้นด้วย ผังโครงสร้างฯ ตามที่อธิบายมา ถือว่าผู้ถือหุ้นคนดังกล่าว มีรายได้จากการรับทำงานให้ ซึ่งมีภาระภาษีที่เกี่ยวข้องดังนี้

    2.1 บริษัทฯ ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย เมื่อทำการจ่ายชำระค่าตอบแทน เป็นหุ้นสามัญ ตามมูลค่าที่ตกลงกัน

    2.2 อัตราการหักภาษี ณ ที่จ่ายจะแตกต่างกัน โดยหากการจัดทำคู่มือ ผังโครงสร้างฯ ดังกล่าวมีลักษณะเป็นงานทั่วไป ไม่เป็นความลับ ถือเป็นเงินได้ตามมาตรา 40(2)ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย อัตราก้าวหน้าแต่หากเป็นงานที่เป็นความลับ เป็นลิขสิทธิ์ของผู้จัดทำ บริษัทฯ สามารถนำไปใช้โดยไม่สามารถดัดแปลงแก้ไขได้ จะถือเป็นค่าแห่งลิขสิทธิตามมาตรา 40(3)จะต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายอัตราก้าวหน้าเช่นเดียวกัน แต่ในการหักภาษี ณ ที่จ่าย ไม่ต้องคำนวณหักค่าลดหย่อน หรือหักเงินได้ที่ยกเว้นแต่อย่างใด

    2.3 ผู้ถือหุ้น จะต้องนำเงินได้ที่ได้รับ มารวมกับเงินได้อื่นเพื่อคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

  3. การเรียกชำระค่าหุ้นเพิ่ม สามารถเรียกชำระเมื่อใด และจำนวนเท่าใดก็ได้ โดยหลักการแล้วควรเรียกเก็บจากผู้ถือหุ้นทุกคนอย่างเท่าเทียมกัน

  4. การจดทะเบียนชำระค่าหุ้นด้วยทรัพย์สิน แรงงาน สามารถทำได้ แต่ขั้นตอนการจดทะเบียนอาจจะมีข้อยุ่งยากบางประการ เช่น ต้องกำหนดมูลค่าทรัพย์สิน แรงงาน ให้ชัดเจน,มีหลักฐานเอกสารเกี่ยวกับ ทรัพย์สิน หรือผลงานที่นำมาชำระแทนเงินสด รวมถึงนายทะเบียนผู้รับจด อาจจะไม่เคยพบกับกรณีเช่นนี้มาก่อน ทำให้ไม่รับจดทะเบียน ซึ่งต้องใช้เวลาอธิบาย ชี้แจงให้เข้าใจ และยอมรับจดทะเบียนให้
ความยุ่งยากดังกล่าว ทำให้หลายแห่งไม่อยากรับทำ จึงแนะนำให้ทำการรับชำระค่าหุ้นด้วยเงินสด และมาทำการซื้อขายในภายหลัง ซึ่งไม่ว่าจะดำเนินการด้วยวิธีใด ผลลัพธ์ที่ได้จะเหมือนกัน ทางด้านบัญชีเองไม่มีผลกระทบแต่อย่าง แต่หลักฐานที่นำมาบันทึกบัญชีอาจจะแตกต่างกัน เช่น กรณีจดทะเบียนด้วยทรัพย์สิน อาจจะไม่มีใบรับเงินค่าจัดทำคู่มือ แต่จะมีรายงานการประชุมแทน ส่วนการซื้อขาย อาจจะต้องจัดทำใบรับเงินเป็นหลักฐานการรับ และจ่ายเงินแทน เป็นต้น

หวังว่าคำตอบจะเป็นประโยชน์

ด้วยรัก

นายภาษี

 

NEED SOME BUSINESS SUGESSION?

WE CAN HELP YOU

เราภูมิใจเป็นอย่างมากหากท่านสามารถใช้ประโยชน์ หรือส่งต่อข้อมูลข่าวสารให้เพื่อนนักธุรกิจ นักบัญชี ภาษี และอื่นๆ เพื่อนำไปใช้ และได้ประโยชน์อย่างเต็มที่...อย่างไรก็ตาม สำหรับการถ่ายทอดความรู้ที่ได้รับความอนุเคราะห์จากบรรดาที่ปรึกษาในการแวะเวียนมาบรรเลงใน msgconsultant.com ประกอบด้วย

We are very proud if you can take advantage or forward the information to the business tax accountants and others to apply and to take full advantage of them. However, knowledge that has been in favor of those that came into play.

Related Site :

บริษัท เอ็มเอสจี คอนซัลแทนท์ จำกัด

149, 151 ถนนกาญจนาภิเษก แขวงหลักสอง เขตบางแค กรุงเทพฯ 10160
โทร. 02-803-6820, 02-803-6821, 02-803-6822
แฟกซ์ 02-903-0080 ต่อ 6823
Email : info@msgconsultant.com