อย่าปล่อนผ่าน

วันนี้กลับมาพร้อมกับเรื่องเล่าที่อยากถ่ายทอดออกมาเป็นตัวหนังสือให้ผู้คนที่ผ่านมาก่อนจะผ่านไป  ในช่วง 2 เดือนที่ผ่านมาหลังภาวะมรสุมงานสอบบัญชี เสร็จสิ้นลง หน้าที่ของผู้ทำบัญชีที่ดี  คือจัดเตรียมเอกสารบัญชีส่งคืนกับลูกค้าผู้ให้ทุนในการเรียนรู้ในวิชาชีพเรา แถมค่าครองงชีพอีกบางส่วน  มีหลายคนที่มีความสนใจเปิดกิจการในช่วงปลายปี หรือแม้แต่การเปิดกิจการมานานแล้ว  แต่ทุกอย่างคือ ทำชงเอง กินเอง นักเลงพอ ประมาณนั้น  แต่เมื่อมาถึงวันหนึ่งที่ผู้ประกอบการบอกว่า ธุรกิจจะเดินหน้าไปต่อได้ เค้าจะต้องมีฟันเฟืองในการช่วยรันธุรกิจ

เมื่อมีหนึ่งฟันเฟือง เรื่องที่ตามมาทันที คงหนีไม่พ้น ความรับผิดชอบทางกฎหมายที่มีสถานะเพิ่มเข้ามาคือ นายจ้างหน้าที่ของนายจ้างจะต้อง ขึ้นทะเบียนนายจ้างต่อสำนักงานประกันสังคม ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่มีลูกจ้างตั้งแต่ 1 คนขึ้นไป

เมื่อขึ้นทะเบียนนายจ้างเรียบร้อยแล้ว ก่อนที่พนักงานหรือที่เค้าเรียกกันว่า “ผู้ประกันตน” จะมีสิทธิ์ประโยชน์ต่างๆ  มากมาย (ต้วมเตี้ยมเห็น เค้าบอกว่านั้น) อันดับแรก ณ วันที่ กิจการมีสถานะเป็นนายจ้างก็คือ  การจ่ายเข้ากองทุนเงินทดแทนประกันสังคม ที่ทางสำนักงานประกันสังคมจะต้องเรียกเก็บจากนายจ้าง โดยมีอัตราการเรียกเก็บไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับประเภทของธุรกิจว่ามีความเสี่ยงในการทำงานมากน้อยแค่ไหน ซึ่งส่วนนี้จะแยกออกจากเงินสมทบประกันสังคม  ที่นายจ้างจะต้องรับผิดชอบให้ลูกจ้างครึ่งหนึ่ง และลูกจ้าง (ผู้ประกันตน) จะต้องรับผิดชอบอีกครึ่งหนึ่ง

มีคำถามต่อมาว่า แล้วนายจ้างจ่ายเงินกองทุนทดแทนได้ที่ไหน ง่ายเลย ยุค 5.0 นี้เราสามารถจ่ายผ่านธนาคารต่างๆ  ได้โดยไม่ต้องเสียเวลาเดินทางไปที่สำนักงานประกันสังคม หรือหากไม่ต้องการเสียเวลา ณ วันที่ไปยื่นเอกสารขึ้นทะเบียนนายจ้างก็ให้เตรียมสำรองเงินไปด้วย เพื่อจ่าย ณ สำนักงานประกันสังคมเลยก็ได้เช่น

คำถามที่ 2 ที่พบบ่อยคือ เงินสมทบจะต้องจ่ายเมื่อไหร่ ที่ไหน สำนักงานประกันสังคมยุค 5.0 ก็อำนวยความสะดวกให้กับผู้ประกอบการเหมือนกัน เมื่อท่านขึ้นทะเบียนนายจ้างแล้ว  ท่านสามารถที่จะติดต่อทำเรื่องยื่นแจ้งพนักงานเข้า -ออก และยื่นแบบนำส่งเงินสมทบประกันสังคม ผ่านทางระบบออนไลน์ก็ได้เหมือนกัน และนำใบจ่ายชำระนี้ไปยื่นจ่ายตามเคาเตอร์เซอร์วิสของธนาคารที่เข้าร่วมโครงการกับสำนักงานประกันสังคม

อีกคำถามที่เกิดขึ้นบ่อยและแต่สิ่งที่พึงระวังก็คือ  ค่าจ้างที่นำมาหัก เงินสมทบประกันสังคมและนำส่งให้กับผู้ประกันตน ณ วันสิ้นเดือน มีหลายที่ประสบปัญหานี้มา และทำให้ต้องยื่นแบบเพิ่มเติมเข้าไปใหม่ สิ่งที่ตามมาก็คือ เกิดเงินเพิ่มอัตราร้อยละ 2 ของเงินค่าจ้างแถมคูณด้วยจำนวนเดือนที่ส่งขาด อย่างที่กล่าวไว้ในบกก่อนว่า ค่าจ้าง คือ เงินเดือน, ค่าแรง, ค่ากะ, ค่าโทรศัพท์ที่เหมาจ่ายให้พนักงานทุกเดือน, ค่าเช่าบ้าน, ค่าน้ำมันรถ, ค่าเดินทางที่ได้รับประจำสม่ำเสมอในการเดินทางมาทำงาน รวมทั้งค่าแรงจูงใจต่างๆ  ที่ก่อให้เกิดแรงบันดาลใจในการทำงาน ให้ถือเป็น ค่าจ้าง ที่จะต้องนำมารวมคำนวณเพื่อนำส่งเงินสมทบประกันสังคมด้วย  เช่น เงินเดือน  15,000  บวก ค่าเช่าห้อง 3,500 บวก ค่ากะ 5,000 บวก ค่าโทรศัพท์ อีก 1,000  รวมเป็นค่าจ้างสุทธิ 24,500.- ค่าจ้างที่จะต้องนำมาคำนวณเงินสมทบประกันสังคม ขั้นต่ำ 1,650 และ สูงสุดไม่เกิน 15,000.- บาท  ฉะนั้นเงินสมทบที่จะต้องหัก ลูกจ้างไว้คือ 750.- และรวมกับส่วนของนายจ้างอีก 750.- เป็นเงิน 1,500.- ที่จะต้องนำส่งสำนักงานประกันสังคมภายในวันที่  15 ของเดือนถัดไป ณ นำสำนักงานประกันสังคม หรือจ่ายชำระกับธนาคารที่เข้ารวมรายการกับสำนักงานประกันสังคมได้เลย

ถึงตรงนี้ต้องขอหยุดไว้ก่อนให้ทุกท่านผ่านมาได้อ่านแล้ว กลับไปดูสลิปเงินเดือนและค่าแรงที่ได้รับทุกสิ้นเดือนว่ายอดของเราถูกต้องตรงกันหรือเปล่า

                                                                                    ต้วมเตี้ยม                                                                                                                                   

 

 

NEED SOME BUSINESS SUGESSION?

WE CAN HELP YOU

เราภูมิใจเป็นอย่างมากหากท่านสามารถใช้ประโยชน์ หรือส่งต่อข้อมูลข่าวสารให้เพื่อนนักธุรกิจ นักบัญชี ภาษี และอื่นๆ เพื่อนำไปใช้ และได้ประโยชน์อย่างเต็มที่...อย่างไรก็ตาม สำหรับการถ่ายทอดความรู้ที่ได้รับความอนุเคราะห์จากบรรดาที่ปรึกษาในการแวะเวียนมาบรรเลงใน msgconsultant.com ประกอบด้วย

We are very proud if you can take advantage or forward the information to the business tax accountants and others to apply and to take full advantage of them. However, knowledge that has been in favor of those that came into play.

Related Site :

บริษัท เอ็มเอสจี คอนซัลแทนท์ จำกัด

149, 151 ถนนกาญจนาภิเษก แขวงหลักสอง เขตบางแค กรุงเทพฯ 10160
โทร. 02-803-6820, 02-803-6821, 02-803-6822
แฟกซ์ 02-903-0080 ต่อ 6823
Email : info@msgconsultant.com