ลูกควบครึ่ง

ลดแล้วลดอีก ช่วงนี้ผู้ใหญ่ในกรมฯ ท่านใจดีทั้งลด ทั้งแจกต่อเนื่องกันมายาวนานเป็นปี ท่ามกลางความดีใจก็อดเสียวสันหลังไม่ได้ว่าคิดอะไรอยู่ เพราะตอนนี้ที่มาคู่กันแบบสูสีๆ คงหนีไม่พ้นข่าวการประมูลเครื่อง EDC และการ E-Invoice ที่จะให้พี่แบ๊งค์ ทำหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่าย นำส่งแทนผู้ประกอบการที่มักหลงลืม หรือซูเอียกันไม่ยอมหัก

 พร้อมเพย์เราก็ยังไม่พร้อม มาเจอเข้าไปอีก 2 E ไม่รู้ว่าผู้ประกอบการจะเป็นอย่างไรหนอ เฮ้อ

 สำหรับข่าวล่ามาเร็วตอนนี้คือ การซื้อ หรือสร้างทรัพย์สิน ในปี 2560 ตั้งแต่ ม.ค. – 31 ธ.ค. 2560 สามารถนำมูลค่าทรัพย์สินไปหักรายจ่ายได้1.5 เท่าๆๆๆๆๆ แต่มีกฏ กติกา มารยาท ที่ต้องทำให้ได้คือ

 

ü  เครื่องจักร ส่วนประกอบ อุปกรณ์ เครื่องมือ เครื่องใช้ เครื่องตกแต่ง และเฟอร์นิเจอร์

ü  โปรแกรมคอมพิวเตอร์

ü  ยานพาหนะที่ไม่ใช่รถยนต์นั่งไม่เกิน 10 ที่นั่ง

ü  อาคารถาวร ไม่รวมที่ดินและที่อยู่อาศัย

ü  ต้องจ่ายเงินไปในปี 2560

ü  ทรัพย์สินพร้อมใช้งานภายในวันที่ 31 ธันวาคม 2560 ยกเว้นเครื่องจักร และอาคารถาวร

ü  ทรัพย์สินที่ซื้อและใช้สิทธิในปี 2559 แต่ยังจ่ายเงินไม่ครบ เงินที่จ่ายในปี 2560 ได้สิทธิหักเพิ่ม 1.5 เท่า


 


สำหรับวิธีการก็ไม่มีอะไรมาก ซื้อทรัพย์สินมาเท่าไหร่ ก็นำมูลค่าของทรัพย์สินที่ซื้อมาหักเป็นรายจ่ายทางบัญชีปกติไปก่อน จากนั้นค่อยวัดครึ่งนึง เอ๊ยนำมูลค่า 50ของทรัพย์สินที่ซื้อมาหักในการคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคล คือไปหักในแบบ ภงด. 50 นั่นเอง

 

แต่การหักเป็นรายจ่าย จะต้องคำนวณค่าเสื่อมราคาและสึกหรอตามอายุการใช้งาน โดยจะนำค่าเสีอมฯ แต่ละปี มาหักเป็นรายจ่ายก็ต้องปฏัติไปตามเดิมไม่เปลี่ยนแปลง แต่บัญชีและภาษีจะแตกต่างกันนิดหน่อยคือ

 ทางบัญชี จะคิดค่าเสื่อมฯ ตามอายุการใช้งาน หากไม่เต็มปีก็ต้องคิดเป็นวัน

ทางภาษี สำหรับส่วนที่หักได้เพิ่มอีก 0.5 จะคิดค่าค่าเสื่อมฯ เต็มปี

 ตอนแรกก็ไม่งง พองงก็งงเลย ก็ขออธิบาย โดยยกเมฆดังนี้

 บริษัท ซื้อทรัพย์สิน เมื่อวันที่ ก.พ. 60 ราคา 1.0 ล้านบาท สามารถนำมูลค่าทรัพย์สินที่ลงทุนมาหักรายจ่ายได้ดังนี้

           ปีที่ คำนวณค่าเสื่อมราคาฯ เพื่อหักเป็นรายจ่ายทางบัญชี

           =        (1,000,000 X 20%) X 334

                   365

 =        183,013.69

 นำค่าเสื่อมราคาฯ ไปหักเป็นรายจ่ายในงบกำไรขาดทุน

 ส่วนทางภาษี สามารถนำครึ่งหนึ่งของมูลค่าทรัพย์สิน มาเฉลี่ยหักรายจ่ายตามอายุการใช้งาน ปี โดยไม่ต้องคำนึงถึงจำนวนวันที่เริ่มใช้ทรัพย์สินเหมือนทางบัญชี เท่ากับทางภาษีจะหักรายจ่ายได้เพิ่ม

           =        1,000,000 X 0.5% X 20%

           =        100,000

 เท่ากับในปีแรก จะหักรายจ่ายในการซื้อทรัพย์สินได้เท่ากับ

           =        183,013.69 + 1,000,000

           =        283,013.69

 ปีอื่นๆ ก็ลองไปคำนวณดูนะน่าจะไม่ยาก ตอนนี้ขอตัวไปซื้อทรัพย์สินก่อนดีกว่า จะมีเงินจ่ายหรือไม่ว่ากันทีหลัง ได้สิทธิแล้วต้องรีบใช้ ผ่อนไม่ไหวค่อยโดนยึดเหมือนรถยนต์คันแรกค่อยไปว่ากัน 555 


                            ด้วยรัก

              แสนดี

 

 

NEED SOME BUSINESS SUGESSION?

WE CAN HELP YOU

เราภูมิใจเป็นอย่างมากหากท่านสามารถใช้ประโยชน์ หรือส่งต่อข้อมูลข่าวสารให้เพื่อนนักธุรกิจ นักบัญชี ภาษี และอื่นๆ เพื่อนำไปใช้ และได้ประโยชน์อย่างเต็มที่...อย่างไรก็ตาม สำหรับการถ่ายทอดความรู้ที่ได้รับความอนุเคราะห์จากบรรดาที่ปรึกษาในการแวะเวียนมาบรรเลงใน msgconsultant.com ประกอบด้วย

We are very proud if you can take advantage or forward the information to the business tax accountants and others to apply and to take full advantage of them. However, knowledge that has been in favor of those that came into play.

Related Site :

บริษัท เอ็มเอสจี คอนซัลแทนท์ จำกัด

149, 151 ถนนกาญจนาภิเษก แขวงหลักสอง เขตบางแค กรุงเทพฯ 10160
โทร. 02-803-6820, 02-803-6821, 02-803-6822
แฟกซ์ 02-903-0080 ต่อ 6823
Email : info@msgconsultant.com