1.แค่ทางผ่าน

ณ บางเวลา เราก็ค้นหาอะไรหลายอย่างเพียงเสี้ยววินามี ณ บางเวลา กว่าเราจะค้นหาสิ่งที่ใช่บางทีมันก็เหลือเวลาน้อยเหลือเกิน “วันนี้จะเป็นวันที่มีความสุขกับงานอีกวัน เพราะได้กลับมาทำในสิ่งที่มีความสุขทุกครั้งที่ทำอีกครั้ง” เมื่อบทความนี้ถูกเผยแพร่ไปน่าจะยืนยันได้ว่า รู้สึกแบบนั้นจริงๆ เกริ่นเรื่องมาไม่ได้เกี่ยวกับสิ่งที่คิดไว้ว่าจะเขียนในวันนี้เลยนะ แค่อยากถ่ายทอดความรู้สึกว่ามันเป็นแบบนี้จริงๆ

ณ เพลานี้ที่ต้องเข้าสู่เรื่องหาสาระจริงๆ เดิมที่โครงร่างที่กำหนดไว้ เมื่อได้รับมอบหมายให้กลับมาเขียนบทความนี้ ไม่ใช่เรื่องในวันนี้เลย แต่ “ตัวกลม & ต้วมเตี้ยม” ก็สามารถแหกกฎแห่งตนได้เสมอ ความตั้งใจเดิม “ตัวกลม” จะถ่ายทอดงานทะเบียนประกันสังคมและเรื่องทั่วไปๆ ที่คิดว่าคนทำบัญชีต้องรู้นอกเหนือจากงานบัญชี และต้วมเตี้ยม จะถ่ายทอดงาน บัญชีและการเงิน แต่วันนี้เมื่อเริ่มต้นขอแบบกินรวบ เลยแล้วกัน เรื่องนี้เป็นคำถามที่ผ่านมาเมื่อต้นปีนี้เองบ่ายโมงนิดๆ  มีข้อความไลน์ เข้าสอบถามจากลูกค้าผู้ให้ความรู้และให้ทุน “ตัวกลม & ต้วมเตี้ยม”  ว่า เงินเซอร์วิสชาร์จของพนักงานโรงแรมต้องนำส่งประกันสังคมหรือไม่

แน่ละ สิ่งเราที่ปิ๊งขึ้นมาเมื่ออ่านคำถามจบ “เนื้อหาสำคัญกว่ารูปแบบ” คือถ้อยคำที่ก้องกังวานอยู่ในหู ของอาจารย์ท่านหนึ่ง เพราะอะไร เพราะเรื่องนี้เราต้องมาคัดแยกกันให้ดี รายได้เงินเซอร์วิสชาร์จมาจากไหน, ค่าจ้างที่นายจ้างจะต้องนำส่งประกันสังคมต้องเป็นเงินที่นายจ้างจ่ายให้กรณีไหนบ้าง   แน่นอนว่า เงินเซอร์วิสชาร์จ  เป็นเงินที่ลูกค้าจ่ายให้กับพนักงาน  โดยเก็บผ่านบริษัทฯ  ซึ่งบริษัทไม่ได้จ่ายให้เอง แสดงว่าไม่ข้อนี้ไม่ถือว่าเป็น ค่าใช้จ่ายที่นายจ้างจ่ายให้ลูกค้า ตามหลักการของประกันสังคมฐานค่าจ้างที่นำมารวมเพื่อคำนวณเงินสมทบประกันสังคมนั้น  ต้องเป็นค่าจ้างที่นายจ้างจ่ายให้กับพนักงานและไม่ว่าจะในรูปแบบใดๆ กรณีที่พนักงานมีรายได้จากเงินเซอร์วิสชาร์จไม่ถือเป็นเงินค่าจ้างที่นายจ้างจ่ายให้พนักง่าน  จึงไม่ต้องนำมาคำนวณ เงินสมทบประกันสังคม

ตามหลักการของประกันสังคมฐานค่าจ้างที่ต้องนำมารวมเพื่อคำนวณเงินสมทบประกันสังคมนั้น ต้องเป็นค่าจ้างที่นายจ้างจ่ายให้กับพนักงาน  ไม่ว่าจะในรูปแบบใดๆ กรณีที่พนักงานมีรายได้จากเงินเซอร์วิสชาร์จไม่ถือเป็นเงินค่าจ้างที่นายจ้างจ่ายให้กับพนักงาน จึงไม่ต้องนำมาคำนวณ เงินสมทบประกันสังคม  อ้างถึง คำพิพากษาศาลฎีกา 5738-5742/2548

คำว่า "ค่าจ้าง" คือ เงินทุกประเภทที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างเป็นค่าตอบแทนในการทำงานในวันและเวลาทำงานปกติ  หรือคำนวณตามผลงานที่ลูกจ้างทำได้  และให้หมายความรวมถึงเงินที่นายจ้างจ่ายให้ในวันหยุดและวันลาที่ลูกจ้างไม่ได้ทำงานด้วย ไม่ว่านายจ้างกับลูกจ้างจะตกลงจ่ายด้วยวิธีการใดหรือเรียกชื่อว่าอย่างไร จะต้องนำเงินได้มาคำนวณเพื่อหักเงินสมทบนำส่งด้วย  เช่น  ค่ากะ, เบี้ยขยัน, ค่าโทรศัพท์ที่บริษัทเหมาจ่ายให้พนักงาน รวมถึงเงินที่ให้เพื่อเป็นแรงจูงใจในการทำงานด้วย

 

สรุปง่ายๆ  ได้ใจความสั้นๆ  ว่า เงินเซอร์วิสชาร์จของพนักงานโรงแรม ไม่ต้องนำมารวมคำนวณเป็นเงินได้ของพนักงาน  เพื่อนำหักเงินสมทบประกันสังคมแต่อย่างใดนะ  ต้วมเตี้ยม ฟันธงให้เลย

 

                                                                                                                                                                                                                  ต้วมเตี้ยม

ติดตามข้อมูลได้ทาง FB  https://www.facebook.com/msgconsultant

NEED SOME BUSINESS SUGESSION?

WE CAN HELP YOU

เราภูมิใจเป็นอย่างมากหากท่านสามารถใช้ประโยชน์ หรือส่งต่อข้อมูลข่าวสารให้เพื่อนนักธุรกิจ นักบัญชี ภาษี และอื่นๆ เพื่อนำไปใช้ และได้ประโยชน์อย่างเต็มที่...อย่างไรก็ตาม สำหรับการถ่ายทอดความรู้ที่ได้รับความอนุเคราะห์จากบรรดาที่ปรึกษาในการแวะเวียนมาบรรเลงใน msgconsultant.com ประกอบด้วย

We are very proud if you can take advantage or forward the information to the business tax accountants and others to apply and to take full advantage of them. However, knowledge that has been in favor of those that came into play.

Related Site :

บริษัท เอ็มเอสจี คอนซัลแทนท์ จำกัด

149, 151 ถนนกาญจนาภิเษก แขวงหลักสอง เขตบางแค กรุงเทพฯ 10160
โทร. 02-803-6820, 02-803-6821, 02-803-6822
แฟกซ์ 02-903-0080 ต่อ 6823
Email : info@msgconsultant.com