ค่าเบี้ยประกัน….จ่ายล่วงหน้า

เรื่องราวของการบันทึกบัญชี หากจะว่ายาก มันก็คงยาก แต่หากจะว่าง่ายก็คงง่าย ดูราวกับจะไม่มีสูตรสำเร็จ...ที่ตายตัว ทั้งที่เล่าเรียนมาจากตำรา...ที่หากจะว่าไปก็มาจาก...แหล่งเดียวกัน หรือสำนักเดียวกัน หากแต่ว่า อาจจะเป็นอาจารย์ปู่ หรืออาจารย์แม่ คนละคนกันตามกาล และเวลาเท่านั้น

 

หากแต่เมื่อจบจากสำนัก และก้าวเข้าสู่ ยุทธจักร...บัญชี อย่างเต็มภาคภูมิ .... กลับพบว่า ในโลกแห่งความบัญชี หลายครั้งหลายหน การบันทึกบัญชีกลับไม่ได้ง่ายอย่างที่คิด ทำเอาต้อง งัด...ตำรับ...ตำราเรียนที่ทิ้งลง...หม้อใบใหญ่ นับตั้งแต่วันเรียนจบ กลับมารื้อค้น เพื่อความจริง เฉกเช่นในครั้งที่ผ่านมาที่ สมหญิง .... เผชิญกับปัญหาเรื่องการนำ ค่าเบี้ยประกันที่จ่ายให้กับบริษัทฯ ประกันมาบันทึกบัญชี ซึ่ง สมหญิง... ไม่แน่ใจว่า มันควรจะบันทึกเป็นค่าใช้จ่ายทั้งจำนวนดี หรือไม่ โดย บริษัทฯ ของ... เอ๊ย ขอโทษ บริษัทฯ ที่... ทำงานอยู่ มีการทำประกันภัยทรัพย์สิน โดยได้จ่ายเบี้ยประกันภัย วันที่ 9 ธันวาคม ปีมะแม แต่อายุความคุ้มครอง ของกรมธรรม์ มีผลตั้งแต่ วันที่ 16 ธันวาคม ปีมะแม – 15 ธันวาคม ปีวอก ซึ่งสอบถามจากศิษย์พี่หลายท่าน ก็ได้รับคำตอบที่แตกต่างกันไป แล้วแต่อารมณ์ และความรู้สึกของแต่ละคน หากแต่คำตอบที่ทำเอาสมหญิง สะอึก และต้องยึดมั่นในคติที่ว่า อัตตาหิ...อัตโนนาโถ คือ ... แม่...ง เรียนมาตั้ง 4 ปี ดันไม่รู้อีกว่าจะต้องลงแบบไหน ... อย่างนี้ เลิก...จ้างน่าจะดี

 

เพื่อไม่ให้ถูกเลิก...โดยไม่ได้รับค่าชดเชย เพราะยังไม่พ้นทดลองงาน สมหญิง ... เลยค้น และหา จนพบซึ่งความจริงว่า  ค่าเบี้ยประกันภัยที่จ่ายในปี 2546 เป็นเงินที่จ่ายเพื่อรับความคุ้มครอง สำหรับปีมะแม – ปีวอก ซึ่งถือเป็นค่าใช้จ่ายทั้งของปีมะแม และ ปีวอก ไม่สามารถจะบันทึกเป็นค่าใช้จ่ายในปีมะแม เพียงปีเดียว โดยการบันทึกบัญชีจะต้องคำนวณค่าใช้จ่ายตามสัดส่วน ความคุ้มครองที่ได้รับในปีมะแม และบันทึกเป็น ค่าใช้จ่าย สำหรับส่วนที่เหลือ ถือเป็นความคุ้มครองที่เกิดขึ้นในปีวอก ไม่สามารถบันทึกเป็นค่าใช้จ่ายได้ แต่จะต้องบันทึกเป็น ค่าเบี้ยประกันจ่ายล่วงหน้า ไว้ก่อน และในปีวอก จะต้องปรับปรุงค่าเบี้ยประกันจ่ายล่วงหน้าเป็น ค่าใช้จ่าย ในปีวอก ต่อไป

 

 

ตัวอย่างเช่น เบี้ยประกันที่จ่าย เป็นการจ่าย เพื่อคุ้มครองทรัพย์สิน ระยะเวลา 1 ปี ดังนั้น ในกรณีที่เกิดขึ้นกับบริษัทฯ ของสมหญิง หากคำนวณระยะเวลาคุ้มครอง เป็นเดือน ถือว่าในปีมะแม ได้จ่ายเงินเพื่อรับการคุ้มครอง เป็นระยะเวลา ครึ่งเดือน เราจึงต้องคำนวณหาค่าเบี้ยประกันต่อเดือนก่อน ดังนั้น หากสมมติว่า ค่าเบี้ยประกันที่จ่ายไปคือ 12,000 บาท เท่ากับว่า ค่าเบี้ยประกันต่อเดือนคือ 1,000 บาท ดังนั้นในการบันทึกบัญชี สำหรับปีมะแม และปีวอก จะเป็นดังนี้

 

              ณ วันที่  9 ธันวาคม ปีมะแม   บันทึกบัญชีดังนี้

                              Dr   ค่าเบี้ยประกันจ่ายล่วงหน้า                          12,000

                                ภาษีซื้อ                                                                      840

                                              Cr  เงินสด / เงินฝากธนาคาร                               12,840

 

              ณ วันที่ 31 ธันวาคม ปีมะแม

                              Dr.  ค่าเบี้ยประกันภัย                                               500

                                              Cr. ค่าเบี้ยประกันภัยจ่ายล่วงหน้า                          500

 

              ณ วันที่ 31 ธันวาคม ปีวอก

                              Dr.  ค่าเบี้ยประกันภัย                                           11,500

                                              Cr. ค่าเบี้ยประกันภัยจ่ายล่วงหน้า                      11,500

 

              จากเบาะแสที่ได้รับ ทำให้...สมหญิง พอจะแกะรอยการบันทึกบัญชีที่ถูกต้องได้แล้ว แต่สิ่งที่ติดอยู่ในความรู้สึกของ...สมหญิง คือ การบันทึกเป็น ค่าใช้จ่าย ควรจะนับตามจำนวนวันที่ได้รับความคุ้มครองเลยหรือไม่ หรือเพียงแค่นับเป็นเดือนก็พอแล้ว

 

ซึ่ง ... สมหญิง เหลือบเห็น มุมขวาด้านล่างของเอกสารที่ระบุ...พออ่านออกว่า การปันส่วน ค่าเบี้ยประกันจ่าย...หากให้ถูกต้อง ควรปันส่วนตามจำนวนวันที่ได้รับความคุ้มครอง แต่ในกรณีนี้เป็นการคำนวณค่าใช้จ่ายแบบง่าย ๆ โดยปันส่วนตามเดือน ซึ่งหากเปรียบเทียบกันแล้ว ภาษา...บัญชี จะบอกว่า ไม่มีนัยสำคัญต่อการบันทึกบัญชี และจัดทำ งบการเงิน ดังนั้น จะใช้อย่างไรก็ได้...อันนี้ สมหญิง ว่าเองค่ะ

 

 

ด้วยรัก สมหญิง

NEED SOME BUSINESS SUGESSION?

WE CAN HELP YOU

เราภูมิใจเป็นอย่างมากหากท่านสามารถใช้ประโยชน์ หรือส่งต่อข้อมูลข่าวสารให้เพื่อนนักธุรกิจ นักบัญชี ภาษี และอื่นๆ เพื่อนำไปใช้ และได้ประโยชน์อย่างเต็มที่...อย่างไรก็ตาม สำหรับการถ่ายทอดความรู้ที่ได้รับความอนุเคราะห์จากบรรดาที่ปรึกษาในการแวะเวียนมาบรรเลงใน msgconsultant.com ประกอบด้วย

We are very proud if you can take advantage or forward the information to the business tax accountants and others to apply and to take full advantage of them. However, knowledge that has been in favor of those that came into play.

Related Site :

บริษัท เอ็มเอสจี คอนซัลแทนท์ จำกัด

149, 151 ถนนกาญจนาภิเษก แขวงหลักสอง เขตบางแค กรุงเทพฯ 10160
โทร. 02-803-6820, 02-803-6821, 02-803-6822
แฟกซ์ 02-903-0080 ต่อ 6823
Email : info@msgconsultant.com